เมนู

ระลึกถึง และด้วยอำนาจแห่งฌานที่หนึ่งนั้นเป็นโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมี
ความตรอง. บทว่า หากโสมนัสใดไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง คือ
ส่วนโสมนัสที่เกิดด้วยอำนาจฌานที่สองและที่สามนั้น ก็ต้องรู้ว่าเป็นโสมนัสที่
ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรอง. คำว่า เหล่าใด ไม่มีความตรึก ไม่มี
ความตรอง ประณีตกว่า
ความว่า แม้ในโสมนัสทั้งสองนี้ โสมนัสที่ไม่มี
ความตรึก ไม่มีความตรองนั้น ประณีตกว่า. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่านกล่าวถึง
อะไร. กล่าวถึงอรหัตตผลของสองท่าน. อย่างไร จริงอยู่ภิกษุรูปหนึ่งเมื่อเริ่ม
ตั้งวิปัสสนาในโสมนัสที่ยังมีความตรึก ยังมีความตรอง แล้วก็มาใคร่ครวญว่า
โสมนัสนี้อาศัยอะไร ก็ทราบชัดว่า อาศัยที่ตั้ง แล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผลโดย
ลำดับตามนัยที่กล่าวแล้วในหมวดอันมีผัสสะเป็นที่ห้านั่นแหละ. รูปหนึ่งเริ่มตั้ง
วิปัสสนาในโสมนัสที่ไม่มีความตรึก ไม่มีความตรองแล้วก็ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ตามนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน.
แม้ในโสมนัสที่ตั้งมั่นเหล่านั้น โสมนัสที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่าที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง โสมนัสวิปัสสนาที่ไม่มี
ความตรึกและไม่มีความตรอง ประณีตกว่า แม้โสมนัสวิปัสสนาที่มีความตรึก
และมีความตรอง โสมนัสผลสมาบัติที่ไม่มีความตรึกและไม่มีความตรองเท่านั้น
ที่ประณีตกว่า โสมนัสผลสมาบัติที่ยังมีความตรึกและยังมีความตรอง. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหล่าใดไม่มีความตรึกไม่มีความ
ตรอง ประณีตกว่า
ดังนี้.
คำว่า ไม่พึงเสพโทมนัสเห็นปานนี้ ความว่า ไม่พึงเสพโทมนัส
ที่อาศัยเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัสอันอาศัยเรือนได้แก่ โทมนัสที่อาศัย
กามคุณซึ่งเกิดแก่ผู้ตรึกอยู่ว่า เราไม่ตามเสวยแล้ว จักไม่ตามเสวย ย่อมไม่ตาม
เสวย ซึ่งอิฏฐารมณ์ในทวารทั้ง 6 อย่างนี้ว่า ในเวทนาเหล่านั้น โทมนัสที่

อาศัยเรือน 6 อย่างเป็นไฉน เมื่อบุคคลพิจารณาเห็นการไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่
น่ารัก น่าใคร่ น่าพอใจ น่าชื่นใจ ซึ่งเกี่ยวกับเหยื่อของโลก ที่พึงรู้แจ้งได้ด้วยตา
โดยความไม่ได้เฉพาะ หรือเมื่อตามระลึกถึงรูปที่ไม่เคยได้เฉพาะ เมื่อซึ่งล่วง
ไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จึงเกิดโทมนัสขึ้น โทมนัสเห็นปาน
นี้ใด นี้เรียกโทมนัสที่อาศัยเรือน ดังนี้เป็นต้น. คำว่า พึงเสพโทมนัสเห็น
ปานนี้
คือ พึงเสพโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเห็นปานนี้. ที่ชื่อว่าโทมนัส
ที่อาศัยการออกจากเรือน ได้แก่ โทมนัสที่เกิดแก่ผู้ที่ไม่สามารถเพื่อจะเร่งเข้าใจ
ให้ขวนขวายเข้าไปตั้งความอยากได้ในธรรมคืออริยผล กล่าวคือความหลุดพ้น
ชั้นเยี่ยม แล้วเริ่มตั้งวิปัสสนาด้วยอำนาจไตรลักษณ์มีความไม่เที่ยงเป็นต้นเพื่อ
บรรลุอริยผลนั้น ผู้ตามเศร้าใจว่า เราไม่สามารถเพื่อจะเร่งเร้าใจให้ขวนขวาย
วิปัสสนามาตลอดปักษ์แม้นี้ ตลอดเดือนแม้นี้ ตลอดปีแม้นี้ แล้วบรรลุอริย
ภูมิได้ ในอารมณ์ที่น่ารักอันมาสู่คลองในทวารทั้ง 6 อย่างนี้ว่า ในเวทนา
เหล่านั้น โทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือนเป็นไฉน ก็แล เมื่อบุคคลมารู้ความ
ที่รูปทั้งหลายไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไปแล้ว เห็นรูปนั้นด้วย
ปัญญาที่ถูกต้องตามที่เป็นจริงอยู่อย่างนี้ว่า รูปทั้งหลาย ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้
เหล่าใด รูปเหล่านั้นทั้งหมด ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนเป็น
ธรรมดา แล้วจึงเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้นเยี่ยมว่า ชื่อว่าเมื่อ
ไรหนอ เราจึงจะเข้าถึงอายตนะนั้นแล้วแลอยู่ คืออายตนะที่พวกพระอริยเจ้า
ในบัดนี้ ย่อมเข้าถึงแล้วแลอยู่. เมื่อเข้าไปตั้งความอยากได้ในความหลุดพ้นชั้น
เยี่ยม ดังที่ว่ามานี้ โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะความอยากได้เป็นปัจจัย.
โทมนัสเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่าโทมนัสที่อาศัยการออกจากเรือน ดังนี้เป็นต้น.
คำว่า พึงเสพ คือ โทมนัสที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการออกจากเรือน ด้วยอำนาจ